การทำทองรูปพรรณ หรือวิธีทำทองคำแท่ง

การทำทองรปพรรณ แบบเจาะลก

การทำทองรูปพรรณ หรือวิธีทำทองคำแท่ง

วิถีชีวิตของคนไทยมักมีทองคำเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดเวลา นับตั้งแต่เกิดที่มีการให้กำไลทองเป็นการรับขวัญเด็กแรกเกิดด้วยทองคำ การให้ของขวัญในโอกาสต่างๆ สินสอดทองหมั้นซึ่งแน่นอนว่าต้องมีทองคำอยู่ด้วย บางคนก็มองว่าเป็นการลงทุน โดยการซื้อทองคำมาเก็บไว้ 

วิธีการทำทองคำแท่ง หรือ การทำทองรูปพรรณ มีขั้นตอนการทำอย่างไร ทองรูปพรรณแต่ละลวดลาย มีความยากง่ายในการทำ ต่างกันขนาดไหน ทำไมถึงค่ากำเหน็จทองรูปพรรณแต่ละลวดลายถึงมากน้อยไม่เท่ากัน ? 

ขั้นตอนการทำทองคำแท่ง 

ทองคำแท่งและ ทองคำรูปพรรณในบ้านเรานั้น มีทอง Four nine หรือ ทองคำที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตทอง โดยมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ  

ขั้นตอนที่ 1 จะนำทองคำ Four nine ไปทำการหลอม โดยการใช้ไฟหลอมจนถึงจุดหลอมละลาย ทองคำก็จะเปลียนสถานะจากของแข็งกลายเป็นของเหลว แล้วก็นำทองคำเหลวไปเทใส่เบ้าพิมพ์ พอเย็นตัสลงก็แกะออกมาจากเบ้าพิม์  

ขั้นตอนที่ 2 นำทองที่หล่อไว้ออกมารีด เพื่อให้ได้ขนาด เบอร์และน้ำหนักตรงตามสูตรร้านทองแต่ละร้านที่สั่งเข้ามา 

ขั้นตอนที่ 3 นำมาขึ้นรูปโดยการนำทองแท่งที่ผ่านขั้นตอนการรีดลัวมาตัด และปั๊มให้ได้ขนาดตามแม่พิมพ์ จากนั้นก็นำมาขูดเอาทองที่เกินนำหนักออกไป โดยต้องมีการชั่งน้ำหนักกันเป็นระยะๆ เนื่องจากหากน้ำหนักเกินก็จะขาดทุน แต่ถ้านำหนักขาดก็จะไม่ได้ตามมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ 

ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดของการทองคำแท่ง 96.5% คือการขัดเงา คนที่จะทำการขัดได้จะต้องมีประสบการณ์และผ่านการฝึกฝนอย่างน้อย 4-5 เดือน

การทำทองรปพรรณ แบบเจาะลกทกขนตอน

ขั้นตอนการทำทองคำรูปพรรณ

เริ่มจากการนำทองคำแท่งมารีดเป็นซี่เล็กๆ ตามลวดลายและขนาดที่ลูกค้าสั่งมา ในระหว่างที่รีดก็ต้องนำทองเผาเป็นระยะๆ เพื่อให้ทองอ่อนตัว แล้วค่อยมารีดใหม่ ไม่เช่นนั้นทองจะแข็งตัวและรีดยากขึ้น พอรีดทองจนเป็นเส้นเล็กๆ หลากหลายเบอร์ หรือว่าหลายขนาดแล้ว

ขั้นตอนต่อไปในการทำทองรูปพรรณก็คือการขึ้นรูป ซึ่งการขึ้นรูป สลักลาย ต้องมีการชั่งน้ำหนักกันตลอดเวลา ในการทำทองคำรูปพรรณแต่ละลายช่างทองต้องมีทั้งทักษะ ความชำนาญและประสบการณ์กันหลายปีเลยทีเดียว พอทำชิ้นงานเล็กๆให้ได้ลวดลายตามที่ต้องการแล้ว 

ขั้นตอนที่สาม คือการนำชิ้นงานชิ้นเล็กๆ เหล่านั้นมาร้อยเชื่อมประสานให้เป็นทองเส้นเดียวกัน โดยใช้น้ำยาประสาน น้ำหนักของน้ำยาประสานก็ต้องมีปริมาณไม่เกินไปกว่าที่ทาง สคบ. กำหนดไว้คือต้องไม่เกิน 3% ของน้ำหนักทอง ซึ่งน้ำยาประสานก็ทำมาจากทองคำที่มีความเข้มข้นน้อยลงมาอีก

และขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การวัดขนาดและการต้มสี เพื่อให้ทองคำมีความแวววาว สวยงาม คล้ายกับขั้นตอนการขัดเงาในทองคำแท่ง โดนนำไปต้มกับดินประสิว แล้วล้างด้วยน้ำกรด แล้วก็ขัดให้เงางาม

อย่างไรก็ตาม การทำทองคำรูปพรรณ หรือการทำทองคำแท่งของแต่ละโรงงานนั้นย่อมมีเคล็ดลับของตัวเองที่เปิดเผยไม่ได้ แต่ที่แน่ๆ ช่างทองต้องมีทั้งฝีมือและประสบการณ์ โดยช่างแต่ละคนจะถูกฝึกตั้งแต่การร้อยสร้อยทองกันเลยทีเดียว เมื่อมีทักษะและความชำนาญมากขึ้น ก็จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปทำงานที่ยากขึ้นเรื่อยๆ อย่างการเชื่อม และพอเริ่มเก่งขึ้น ก็อาจจะย้ายไปทำลวดลายได้เลย งานฝีมือแบบนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถล้วนๆ เลยก็ว่าได้ โดยแต่ละชิ้นงานต้องใช้เวลาในการทำนานถึง 3 วันเลยทีเดียว นี่จึงเป็นที่มาของการคิดค่ากำเหน็จตามความยากง่ายของทองรูปพรรณแต่ละลาย ระยะเวลาในการผลิตขึ้นมา

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับทองคำ

ในปัจจุบันมาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำ ที่นิยมใช้กันทั่วโลก มีอยู่ 3 ระบบ คือ 

1. ระบบเปอร์เซ็นต์ แบบที่เราคุ้นเคยและใช้กันอยู่ในประเทศไทย เช่น ทองคำ 99.99% ทองคำแท่ง 96.5%  90%  

2. ระบบไฟน์เนส ซึ่งจะคล้ายกับระบบเปอร์เซ็นต์ แต่ไม่มีจุดทศนิยม โดยใช้ตัวเลขเรียงกันสามตัวไปเลย ระบบนี้จะใช้ในสิงคโปร์ ประเทศเพื่อนบ้านของเรานั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ทอง 999 เท่ากับ 99.99%  ทอง 916 เท่ากับ 91.6% เป็นต้น

3. ระบบกะรัต (Karat ) หรือที่เรียกย่อๆ สั้นๆ จนหลายคนอาจจะร้อง อ๋อ ! ก็คือทอง K คำว่ากะรัตในทองคำ จะคนละความหมายกับ Carat (กะรัต) ที่เป็นหน่วยในการวัดระดับของน้ำหนักอัญมณีต่างๆ อย่างเช่น เพชร พลอย ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกัน อย่าเพิ่งสบสนนะคะ ระบบนี้จะใช้กันในบางประเทศในยุโรป ยกตัวอย่างเช่น 

 24K ก็จะเท่ากับทองคำบริสุทธิ์ 99.99%

 22K เท่ากับทอง 91.6%

• 18K เท่ากับทอง 75%

 14K เท่ากับทอง 58.3%

 10K เท่ากับทอง 41.6%

 9K เท่ากับทอง 37.5%

ส่วนทองคำบ้านเรา บริสุทธิ์ 96.6%  แปลงไปเป็นหน่วย Karat ก็จะเท่ากับ 23.16K  ร้านจิวเวลรี่ในบ้านเรานิยมใช้ทอง 18K ทอง 75% เพราะมีความแข็งแรงกว่าทองคำเปอรร์เซนต์สูงๆ ที่มักอ่อนตัว สำหรับคนซื้อทองคำเพื่อการลงทุนก็ควรซื้อแบบที่มีเปอร์เซนต์สูงๆ นะคะ

การซื้อทองคำแท่งนั้นทางผู้ซื้อจ่ายค่าทอง + กำไรที่ทางร้านบวกเพิ่มเข้าไป คิดคร่าวๆ อยู่ที่ประมาณ 3% 

ส่วนการคิดราคาทองรูปพรรณโดยนั้น สิ่งที่ทางผู้ซื้อต้องจ่าย คือ ค่าทอง(ขึ้นอยู่กับราคาทองคำโลกช่วงนั้นๆ เช่นเดียวกันกับราคาทองคำแท่ง) + ค่ากำเหน็จ (ค่าแรงที่ช่างทองทำทองแต่ละเส้นขึ้นมา ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลาย) + กำไรที่ทางร้านบวกเพิ่มเข้าไป คิดคร่าวๆ อยู่ที่ประมาณ 3%

อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ทองรูปพรรณถูกทำขึ้นมาเพื่อการสวมใส่ให้สวยงาม มูลค่าของทองคำจึงรวมตรงนั้นเข้าไปแล้วด้วย ถ้าคิดจะซื้อเพื่อการลงทุนควรซื้อทองคำแท่งเพราะเมื่อเรานำทองรูปพรรณไปขายคืนที่ร้าน มูลค่าจะลดลงเพราะทางร้านก็จะหักมูลค่าของน้ำยาประสานที่มีอยู่ประมาณ 3 % นั้นออกไปด้วย ส่วนทองคำแท่งจะถูกหักเพียงแค่ 100 บาทเป็นค่าหลอมทองคำให้เป็นแท่งนั่นเอง

สุดท้ายนี้ผู้เขียนนำวีดีโอที่ทางทาง Smart Money พาไปชมโรงงานผลิตทองที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ไปดูวิธีการทำทองแท่งและทองรูปพรรณ กันแบบใกล้ชิด เจาะลึกทุกขั้นตอน ขอบคุณคลิปวิดีโอจาก youtube.com โดย Wealth Me Up (เฟิร์น ศิรัถยา อิศรภักดี)