การสืบราชสันตติวงศ์ ประวัติศาสตร์การขึ้นครองราชย์

การสืบราชสันตติวงศ์ คือการขึ้นครองราชย์จากองค์พระราชบิดา ในราชวงค์จักรีนั้น มีกษัตริย์เพียง 5 พระองค์ที่ขึ้นครองราชสมบัติจากองค์พระราชบิดา 

การสบราชสนตตวงศ ประวตศาสตรการขนครองราชย

นับตั้งแต่มีการสถาปานากรุงรัตโกสินทร์เป็นราชธานี เป็นระยะเวลานานถึง 280ปี การขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรีนั้น จะมีทั้งความเหมือนและแตกต่างกัน โดยเฉพาะ การสืบราชสันตติวงศ์ หรือการขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจากองค์พระราชบิดา 

การสืบราชสมบัติ เป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่ละองค์ ที่จะทรงมอบให้ราชสมบัติให้แก่ผู้ใด โดยในยุครัตโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงกำหนดตำแหน่งซึ่งเคยมีมาในสมัยอยุธยาขึ้นมาใหม่ คือตำแหน่ง “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” (วังหน้า) ในทำนองเป็นองค์รัชทายาท แทนตำแหน่ง พระมาอุปราช ซึ่งจะเป็นตำแหน่งที่จะสืบราชสมบัติต่อไปในภายภาคหน้า และเป็นธรรมเนียมตั้งแต่นั้นมา

จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แต่งตั้งตำแหน่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นมาแทน หากย้อนกลับไปในอดีต ราชวงค์จักรีมีกษัตริย์เพียง 5 พระองค์ที่สืบราชสันตติวงศ์มาจากพระราชบิดา ประกอบด้วย 

รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระนามเดิมคือ เจ้าฟ้าชายฉิม ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ที่สุดของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ทียังมีพระชนม์ชีพอยู่ในขณะนั้น และดำรงตำแห่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352

รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับจอมมารดาเรียม พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์  ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นองค์ที่ 1 ในสมเด็จสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ซึ่งเป็นพระมเหสี หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรคต โดยที่มิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เพียงแต่มีพระราชหัตถเลขาว่า เจ้านายซึ่งจะสืบพระราชวงค์ต่อไปภายหน้า จะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอก็ได้ พระเจ้าลูกยาเธอก็ได้ พระเจ้าหลานเธอก็ได้ ขอให้ท่านผู้ใหญ่ในบ้านเมืองปรึกษากัน สุดแล้วแต่จะเห็นสมควร ที่ประชุมบรมวงค์ษานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพระสงฆ์จึงได้ประชุมร่วมกัน และเห็นพร้องกันเป็นเอกฉันท์ ให้เชิญ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงเป็นโอรสองค์ใหญ่ที่สุด ที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ เสด็จขึ้นครองราชต่อจากพระราชบิดา

รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นราชโอรสองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระนามเดิม พระนางเจ้าเสาวภา ผ่องศรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ทรงได้รับการสถาปณาเป็น พระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร

และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร ทรงเป็นองค์รัชทายาท สืบราชสันตติวงศ์ ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 หรือเมื่อ 44 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดเมื่อผ่านขั้นตอนจากการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับทราบอย่างเป็นทางการแล้ว รัฐบาลในนามของประชาชนทุกหมู่เหล่าจะได้กราบบังคมทูลอันเชิญองค์รัชทายาทขึ้นทรงราชเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงค์จักรี