วันปิยะมหาราช และการเลิกทาส ในสมัยรัชกาลที่ ๕

วนปยะมหาราช และการเลกทาส ในสมยรชกาลท ๕

วันปิยะมหาราช และการเลิกทาส ในสมัยรัชกาลที่ ๕

วันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีเป็น วันปิยะมหาราช ซึ่งถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของประชาชนชาวไทย เนื่องจากเป็นวันครบรอบวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือพระพุทธเจ้าหลวง กษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรีเสด็จสวรรคตเมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๑ แรม ๔ ค่ำ ปีจอ หรือตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พุทธศักราช 2453 ด้วยโรคพระวักกะหรือโรคไต ซึ่งรวมพระชนม์พรรษาของพระองค์ 58 พรรษา รวมศิริดำรงค์ราชสมบัติ 42 ปี

คำว่า “ปิยะมหาราช” หมายความถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย เหตุที่มาของพระสมัญญานามนี้ สืบเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งก็คือ การเลิกทาสได้เป็นสำเร็จในสยาม ด้วยเมื่อสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น สยามประเทศมีทาสจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของพลเมือง ด้วยเหตุที่ว่าลูกทาสในเรือนเบี้ยได้มีสืบต่อกันมาไม่มีที่สิ้นสุดและเป็นทาสกันตลอดชีวิตหรือกล่าวก็คือเมื่อพ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดมาก็ต้องกลายเป็นทาสต่อๆ กันเรื่อยไป ตามกฎหมายโบราณแบ่งทาสออกเป็น 7 ชนิด

1.ทาสได้มาแต่บิดามารดา

2.ทาสในเรือนเบี้ย

3.ทาสสินไถ่

4. ทาสท่านให้

5. ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ

6. ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย

7. ทาสเชลยศึก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบดีถึงความลำบากและความทุกข์ยากของพสกนิกรในแผ่นดินสยามของพระองค์ที่ต้องเผชิญจากการเป็นทาส ในปีพระพุทธศักราช 2417 จึงได้โปรดให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของลูกทาส นอกจากนี้ตลอดรัชกาลพระองค์ได้ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสอีกหลายฉบับ ซึ่งได้ออกบังคับใช้ในมณฑลต่างๆ เพื่อให้ลูกทาสเป็นไทย อาทิ ประกาศประมวลกฎหมายลักษณะอาญากำหนดบทลงโทษแก่ผู้ซื้อขายทาสให้มีความผิดเช่นเดียวกับโจรปล้นทรัพย์ 

การประกาศเลกทาส

นอกจากนี้แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้กระทำเป็นแบบอย่างแก่บรรดาเจ้านายและขุนนางในการบำเพ็ญกุศลด้วยการบริจาคพระราชทรัพย์ พร้อมพระราชฐานที่ดินให้เป็นทำกิน จนเป็นผลทำให้ระบบทาสอยู่คู่กับสังคมไทยมาหลายร้อยปีได้ยกเลิกจนหมดสิ้นไป ถึงแม้ว่าจะต้องใช้ความพยายามอุตสาหะยากลำบากมากเพียงใดก็ตาม แต่ที่สุดแล้วพระองค์ทรงได้เลิกทาสได้สำเร็จเมื่อปีพุทธศักราช 2448 สมตามพระราชนิพานที่ได้ทรงตั้งไว้ ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณสูงยิ่งอย่างหาที่เปรียบมิได้ และเป็นคุณูปการที่สำคัญยิ่งแก่ปวงชนในแผ่นไทยตราบจนทุกวันนี้ นอกจากจากนี้แล้วยังมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญดังต่อไปนี้

การสาธารณูปโภค 

การไฟฟ้า ในปี พ.ศ.2433 ได้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนได้ใช้ในครั้งแรก

การสาธารณสุขโดยสละพระทรัพย์ส่วนพระองค์ 200 อัฐ สร้างโรงพยาบาลวังหลวง ต่อมาได้แปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลศิริราช

• การคมนาคม ทรงโปรดให้มีการก่อสร้างทางรถไฟสายแรกในเมืองไทย คือกรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา แต่อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะสร้างเสร็จก็ได้มีการประกาศให้ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา ขึ้นมาเสียก่อน

การศึกษา ทรงโปรดให้มีโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษขึ้นในพระราชวัง ทรงก่อตั้งสถานศึกษาขึ้นมาหลายแห่ง ในปี พ.ศ.2427 ได้ก่อตั้งโรงเรียนแห่งแรกขึ้นมาคือโรงวัดมหรรณพาราม รวมถึงให้ความสำคัญกับสตรีให้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน โดยทรงโปรดให้มีก่อตั้งโรงเรียนบำรุงสตรีวิทยา ขึ้นในปิ พ.ศ. 2444 นอกจากยนี้แล้วยังทรงโปรดเกล้าให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เขียนตำราเรียนที่มีชื่อว่า “แบบเรียนหลวงขึ้นมา” ซึ่งมีทั้งหมด 6 เล่ม คือ มูลบทบรรพกิจ, วาห์นิติ์นิกร, อักษรประโยค, สังโยคพิธาน, ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์

• การประปา ประเทศไทยมีทำน้ำประปาขึ้นมาครั้งแรกในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2452. โดยกักเก็บน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย มีการติดตั้งอุปกรณ์ และขุดคลองประปามายังสามเสน

วนปยะมหาราช รชกาลท ๕

การปกป้องประเทศ ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้ประเทศไทยรักษาความเป็นเอกราชของชาติไทยไว้ได้ ถึงแม้ว่าเราต้องเสียดินแดนบางส่วนเพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกโดยเรามีการเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสไปถึง 4 ครั้ง

– พ.ศ.2431 เสียดินแดนในแคว้นสิบสอบจุไทย 

– พ.ศ.2436 เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง 

– พ.ศ.2447 เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง 

– พ.ศ.2449 เสียดินแดนที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภรณ 

ด้านการปกครอง ทรงมีการจัดระบบการปกครองเป็นแบบใหม่ เพื่อมิให้มีการทำงานก้าวก่ายกัน โดยการแบ่งหน่วยราชการออกเป็นกระทรวง กรม กองต่าง ๆ ถึง 10 กระทรวง

นอกจากนี้แล้วยังมีพระราชกรณียกิจอย่างอื่นอีกมากมาย ดังต่อไปนี้

• ทรงโปรดเกล้าให้สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม 

• ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย 

• โปรดให้ใช้เสื้อราชปะแตน 

• ยกเลิกประเพณีการหมอบคลานขณะเข้าเฝ้า 

• ทรงโปรดให้มีการใช้อัฐแบบกระดาษแทนการใช้เหรียญทองแดง

• ทรงเสด็จประพาสยุโรป

• การทดลองสายโทรศัพท์ครั้งแรก

• การก่อตั้งกรมไปรษณีย์

วันปิยะมหาราช ได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้ง พวกเราชาวไทยต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อปวงชนชาวไทย