บาร์โค้ด (Barcode) หรือ รหัสแท่ง คืออะไร?

บาร์โค้ด (Barcode) คืออะไร?

บาร์โค้ด (Barcode) หรือรหัสแท่ง คืออะไร?

บาร์โค้ด (Barcode) มีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า รหัสแท่ง คือสัญลักษณ์รหัสแท่ง โดยมีลักษณะเป็นแท่งหรือแถบสีที่มีความหนาบางแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง เป็นแหล่งเก็บข้อมูลของสิ่งของที่มันติดอยู่ ยกตัวอย่างเช่น สินค้า  ตั๋วเครื่องบิน หรือแม้กระทั่งตามบัตรต่างๆเพื่อใช้ตรวจสอบข้อมูลบุคคล การอ่านข้อมูลบนบาร์โค้ดจะอาศัยหลักการสะท้อนแสงเพื่อนำไปเก็บที่คอมพิวเตอร์โดยตรงไม่จำเป็นต้องกดแป้นพิมพ์ ดังนั้นระบบบาร์โค้ดจึงช่วยให้การคำนวณราคาสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้องและมีความแม่นยำ มากกว่าการอ่านด้วยสายแล้วกดแป้นพิมพ์ป้อนข้อมูล

บาร์โค้ดจะมีส่วนประกอบทั้งหมด 3 ส่วนหลักๆด้วยกัน คือ

– ส่วนที่เป็นแท่ง หรือลายเส้น มักจะเป็นสีดำ กับสีขาว ซึ่งส่วนที่เป็นแท่งสีขาวมักจะโปร่งแสง
– ส่วนที่สองเป็นข้อมูลตัวอักษร ซึ่งจะเป็นส่วนที่แสดงความหมายของข้อมูลของลายเส้นที่อยู่ข้างบนเพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่ายๆ ซึ่งมักจะเป็นตัวเลข 13 หลัก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตัวเลขสามตัวแรกเป็น 885 หมายความว่าผลิตในประเทศไทย ขึ้นต้นด้วย 3 ผลิตในประเทศฝรั่งเศส บาร์โค้ดที่มีตัวเลข ISBN 10 หลักก็คือบาร์โค้ดที่ติดอยู่บนพ็อกเก็ตบุ๊ค ของนิตยสารจะเป็น ISSN แล้วตามด้วยตัวเลข เป็นต้น
– แถบว่าง ซึ่งเรามักจะคาดไม่ถึงว่ามันคือส่วนหนึ่งของบาร์โค้ด แถบสว่างเป็นส่วนที่เครื่องอ่านบาร์โค้ดใช้กำหนดขอบเขตของบาร์โค้ด กำหนดค่าให้สีขาว ซึ่งแต่ละเส้นจะมีความยาวเท่าๆกัน เพื่อให้เครื่องอ่านสามารถอ่านข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้

การถอดรหัสบาร์โค้ด

บาร์โค้ด (Barcode) คืออะไร?

ถ้าเราต้องการทราบรายละเอียดสิ่งของนั้นๆ เราก็สามารถอ่านรหัสบาร์โค้ดได้โดยใช้ เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode  Scanner) ซึ่งจะอาศัยหลักการสะท้อนแสงแล้วนำข้อมูลไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรงเพื่อประมวลผลโดยไม่มีการกดปุ่มบนแป้นพิมพ์ การอ่านบาร์โค้ดในอดีตจะใช้คลื่นไฟฟ้าเป็นตัวอ่าน แถบสีขาวเท่านั้นที่จะเป็นตัวสะท้อนแสงออกมา และแสงที่สะท้อนออกมาก็จะถูกเปลี่ยนเป็นคลื่นไฟฟ้า แล้วป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการถอดรหัสออกมา ปัจจุบันมีการพัฒนามาใช้แสงเลเซอร์ในการอ่านบาร์โค้ดแทน

บาร์โค้ดส่วนใหญ่มักจะพิมพ์ด้วยสีดำบนพื้นขาว แต่ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถพิมพ์เป็นสีอะไรก็ได้ยกเว้น สีแดง เพราะแสงเลเซอร์จากเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่กราดยิงลงมานั้นมีสีแดง ดังนั้นเครื่องอ่านจึงไม่สามรถรับแสงสะท้อนจากสีแดงได้ แต่สีที่ได้รับความนิยมมากมักจะเป็นสีดำกับสีขาว

บาร์โค้ดที่ถูกต้องจะเกี่ยวข้องกับสูตรทางคณิตศาสตร์ เราจะเห็นว่าบาร์โค้ดมีตัวเลขอยู่ทั้งหมด 13 หลัก เมื่อนำเลข 3 ไปคูณกับผลรวมตัวเลขในหลักคู่ แล้วนำมาบวกกับ ผลรวมตัวเลขในหลักคี่คูณด้วย 3 จากนั้นนำค่าที่ได้มาหารด้วย 10 ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะลงตัวเสมอ เรามาเอาบาร์โค้ดข้างบนมาลองคำนาณดูกันนะคะ

(4+8+2+6+2+6) x 3 = 84
(3+1+5+9+1+3) x 3 = 66
84 + 66 = 150  … 150/10 = 15

ปัจจุบันบาร์โค้ดมีการพัฒนาล้ำหน้าไปมาก ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีในตอนนี้ก็คือ บาร์โค้ด 2 มิติ หรือ QR Code นั่นเอง ไว้วันหน้าเราจะมาคุยเรื่อง QR Code กันนะคะ

->เรื่องน่ารู้ นานาสาราจาก เว็บมะนาว