ประวัติขงจื๊อ นักคิดและนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ของโลก

ประวตขงจอ นกคดและนกปรชญาผยงใหญของโลก

ประวัติขงจื๊อ นักคิดและนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ของโลก

ขงจื๊อเป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลกมานาน วันนี้เรามาทำความรู้จักท่านกัน  ประวัติขงจื๊อ นักคิดและนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ท่านคือใครและคำสอนของขงจื๊อนั้นมีอะไรบ้าง 

ขงจื๊อ เป็นคนในตระกูล “ขง” โดยท่านขงจื้อก็ถูกเรียกกันหลากหลายชื่อแต่ส่วนใหญ่ท่านจะถูกเรียกในชื่อ ขงจื๊อ และชื่อภาษาอังกฤษก็จะรู้จักกันในนาม Confucius ซึ่งขงจื้อเกิดในแคว้นหลู่ เมื่อ 551 ปีก่อนคริสตกาล บิดาของท่านคือ ข่งเหอ (ซูเหลียงเหอ) ซึ่งเป็นคนที่มีการศึกษาดี รับราชการอยู่ที่แคว้นหลู่ มารดาขงจื้อมีชื่อว่า เหยียนเจิงไจ้ เป็นภรรยาคนที่สาม เนื่องจากภรรยาสองคนแรกไม่สามารถมีบุตรชายสืบสกุลได้ตามธรรมคนจีนในสมัยนั้น มีการบันทึกไว้ว่าขงจื้อเป็นคนที่มีรูปร่างสูงใหญ่โดยมีความสูงถึง 2 เมตรคล้ายกับบิดาที่เป็นนักรบ หลังจากบิดาขงจื้อได้เสียชีวิตในขณะที่ขงจื้อมีอายุเพียงแค่ 3 ขวบเท่านั้น แม่ของขงจื้อทนการกดขี่จากภรรยาหลวงไม่ได้ จึงพาขงจื้อย้ายถิ่นฐานไปอยู่กับตาที่เมืองชวีฝู่ ในแคว้นหลู่ มณฑลซานตง

ช่วงชีวิตของขงจื้อในวัยหนุ่ม

มารดาและคุณตาของขงจื้อก็ได้สอนให้ขงจื้อได้สอนให้รู้จักการเขียนการอ่านตั้งแต่ยังเยาว์วัย รวมถึงขนบธรรมเนียมปฎิบัติ จารีต ประเพณีและพิธีกรรมของชนชั้นสูงในสมัยราชวงค์โจว  มารดาของขงจื้อเสียชีวิตลงในขณะที่ท่านมีอายุ 17 ปี ซึ่งตอนนั้นขงจื้อได้ทำงานเป็นข้าราชการที่มีหน้าที่ดูแลคลังเสบียง แล้วเลื่อนมาเป็นเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์  เข้ารับราชการและได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฉางหลวง ในตอนนั้นเวลาที่คหบดีหรือจวนขุนนางมีงานมงคลหรืออวมงคล มักจะเชิญขงจื้อไปทำพิธีกรรมให้

ท่านขงจื้อเริ่มสนใจการเมืองการปกครองตั้งแต่ท่านอายุ 20 กว่าปี และถูกเชิญให้ไปถกปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดกับเจ้าผู้ปกครองแคว้นฉีและท่านเยี่ยนอิงซึ่งเป็นเสนาผู้มีชื่อเสียงในประวัติศาตร์จีนบ่อยๆ เมื่อขงจื้ออายุได้ 30 กว่าปี เกิดศึกการเมืองและมีการแย่งชิงอำนาจกัน ขงจื้อก็ได้ลาออกจากราชการแล้วหันไปทำอาชีพครูโดยตั้งเป็นสำนักสอนบุคคลทั่วไปอย่างเปิดกว้างโดยไม่แบ่งว่าใครจะรวยหรือจนก็สามารถเรียนรู้กับขงจื้อได้ ซึ่งท่านจะมีเทคนิคในการสอนโดยให้รู้จักวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ไม่ใช่การท่องจำ 

ประวตขงจอ นกคดและนกปรชญาผยงใหญของโลก

ช่วงชีวิตของขงจื้อในวัยกลางคน

ต่อมาเมื่อขงจื้ออายุได้ราว 51 ปี ท่านก็ได้กลับมารับราชการและได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดี ถึงแม้ว่าจะเป็นการกลับมารับราชการอีกครั้งในช่วงเวลาที่ไม่นาน ขงจื้อทำหน้าที่ของท่านได้ดี ทำให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง แต่ว่าการกระทำของท่านกลับไปขัดผลประโยชน์ของทั้ง 3 ตระกูลใหญ่ ไม่เพียงเท่านั้นแคว้นอื่นๆ เมื่อเห็นว่าขงจื้อพัฒนาแคว้นหลู่ไปในทางที่ดีก็กลัวว่าจะแคว้นหลู่จะมีอำนาจมากเกินไป ทั้ง 3 ตระกูลใหญ่จึงร่วมกันติดสินบนเจ้าผู้ครองแคว้นโดยการนำเอาหญิงสาวงามมาให้ และยังพยายามใส่ร้ายขงจื้อเพื่อทำให้ท่านลาออกจากงานราชการในขณะที่ท่านมีอายุ 54 ปี 

ใน 497 ปีก่อนคริสตกาล หลังออกจากราชการท่านขงจื้อและศิษย์ก็ได้ออกเดินทางจากแคว้นหลู่ เพื่อไปเรียนรู้เรื่องการปกครองและวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นอื่นๆ ของแต่ละแคว้น ในขณะที่ขงจื้อออกเดินทางไปอยู่ในแคว้นใดท่านก็มักจะให้คำปรึกษาและสอนหนังสือ แต่บ่อยครั้งที่คำสอนของขงจื้อก่อให้เกิดความขัดแย้งจนทำให้ขงจื้อไม่สามารถอยู่ในแคว้นเหล่านั้นได้นานๆ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ขงจื้อต้องออกเดินทางไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งขงจื้อได้พบกับมหาปราชญ์แห่งลัทธิเต๋านั่นก็คือท่านเล่าจื้อ ทั้งคู่ได้เสวนากันและท่านเล่าจื้อได้ให้แง่คิดกับขงจื้อในการปฏิบัติตนในสอดคล้องกับธรรมชาติ เปรียบดั่งน้ำที่ไม่มีอะไรที่อ่อนกว่าน้ำแต่ก็ไม่มีอะไรเข้มแข็งพอที่จะทำลายน้ำได้ ด้วยคำสอนนี้เองที่ขงจื้อได้นำมาปรับใช้กับตัวเองเพื่อให้มีความประนีประนอมมากขึ้น เมื่อขงจื้ออายุได้ 68 ปีท่านก็ได้กลับมาสู่แคว้นหลู่อีกครั้ง และได้เปิดโรงเรียนขึ้นอีกครั้งโดยมีลูกศิษย์ที่ท่านได้อบรมสั่งสอนประสิทธิ์ประสาทวิชาให้รวมทั้งหมดกว่า 3,000 คน

ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมในช่วงอายุ 72 ปี (ประมาณ 479 ปีก่อนคริสตกาล) จากจำนวนลูกศิษย์ที่ขงจื้อได้สอนไปนั้นกลับมีเพียงแค่ 72 คนเท่านั้นที่กลายเป็นคนมีชื่อเสียง บางคนก็ได้เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ แม้ว่าขงจื้อถึงแก่กรรมไปแล้วแต่ว่าคำสอนของท่านยังคงอยู่และได้ถูกฝังรากโดยมีอิทธิพลลึกลงไปในโซนเอเชียตะวันออก เพราะว่าคำสอนของขงจื้อได้แจกแจงถึงความสำคัญและหน้าที่อันพึงปฏิบัติระหว่างบุคคลต่อบุพการี บุคคลต่อครอบครัว บุคคลต่อเพื่อนฟูง และบุคคลต่อประเทศชาติ ซึ่งเป็นศีลธรรมในการปกครอง ศีลธรรมส่วนตัวที่ไปเกี่ยวพันธ์กับสังคม รวมไปถึงความยุติธรรมและความบริสุทธิ์ใจ

คุณธรรม 8 ประการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตที่ขงจื้อได้กล่าวไว้

1. มีความกตัญญู 

2. มีความรักใครปรองดองระหว่างพี่น้องและญาติมิตร 

3. มีความซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อบ้านเมือง ผู้ปกครองตลอดจนผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง

4. มีวาจาสัตย์ 

5. มีมารยาทและปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม 

6. มีมโนธรรมหลีกเลี่ยงการกระทำอันทุจริต

7. มีความบริสุทธิ์ทั้งกายและใจ

8. มีความละอายต่อความเชื่อ

หลังจากทราบประวัติขงจื๊อ  รวมถึงความเป็นมาในช่วงต่างๆ ของชีวิตท่านแล้ว เรามารู้จักคำสอนบางคำสอนของท่านขงจื้อกันบ้าง ซึ่งบางคำสอนพวกเราอาจจะรู้จักหรือได้ยินมาก่อนแต่อาจจะไม่รู้ว่าเป็นคำสอนของท่านขงจื้อ

1. โอกาสได้มาจากการแสวงหามิใช่รอคอย

2. กองทัพอาจสูญเสียแม่ทัพได้ แต่คนเราจะสูญเสียความมั่นคงและปณิธานอันแรงกล้ามิได้เลย

3. ถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี

4. ช่างฝีมือที่จะทำงานได้ดี จะต้องเตรียมเครื่องมือให้ดีเสียก่อน

5. ผู้ใดแสวงหาความสำเร็จ ควรมองหาความมั่นใจของตนเองเสียก่อนเป็นอันดับแรก

6. นกเมื่อทำรังจะดูต้นไม้ ถ้าจะเลือกเจ้านายให้ดูที่น้ำใจ

7. ไม้คดอาจใช้ทำขอ เหล็กงออาจะใช้ทำเคียว แต่คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย

8. คนมีเมตตาต้องฉลาด มิเช่นนั้นจะถูกหลอกได้ง่าย

9. คนฉลาดต้องศึกษาสิ่งรอบตัว มิฉะนั้นจะประพฤติผิดได้ง่ายเพราะความทะนงตน

10. การให้คนที่ไม่เคยผ่านการฝึกฝนออกไปรบ แท้จริงแล้วเป็นการสั่งให้เขาไปตาย

11. เมื่อใครสักคนหนึ่งทำผิด ท่านอย่าพึ่งตำหนิหรือต่อว่าเขา เพราะถ้าท่านเป็นเขาและตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกัน ท่านอาจจะตัดสินใจทำเช่นเดียวกับเขาก็ได้

12. สิ่งที่ตนเองไม่อยากทำหรือไม่อยากได้ก็อย่ายัดเหยียดให้กับผู้อื่น

13. ติเตียนตนเองให้มาก ติเตียนผู้อื่นให้น้อย เช่นนี้ก็จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

14. พบคนที่มีคุณธรรมเราต้องเรียนรู้จากเขา พบคนที่ไม่มีคุณธรรมเราต้องสำรวจตนเองว่ามีข้อเสียเหมือนอย่างเขาหรือเปล่า

15. พบว่ามีข้อผิดพลาดแล้วไม่แก้ไขถือว่าเป็นความผิดพลาดอย่างแท้จริง

16. รู้ก็ให้บอกว่ารู้ ไม่รู้ก็ให้บอกว่าไม่รู้ จึงจะเป็นคนฉลาด

17. การบริหารคือศิลปะการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยมือผู้อื่น

18. ผู้ปกครองระดับธรรมดาใช้แต่ความสามารถและกำลังของตน ผู้ปกครองระดับกลางใช้ความสามารถของตนร่วมกับใช้ความสามารถและกำลังของผู้อื่น ผู้ปกครองระดับสูงจะใช้เพียงแต่ปัญญามุ่งหาวิธีที่จะดึงเอากำลังและความสามารถของผู้อื่นมาทำงานให้ตนอย่างเต็มที่

19. ต้องรู้ตึง รู้หย่อนจึงจะปกครองประเทศได้

20. รู้จักที่จะเรียนรู้ขอดีของคนอื่น และเลือกเอาสิ่งที่ดีของเขามาปรับปรุงตน