ควินัว (Quinoa) คืออะไร ทำไมถึงเป็น Super Food

ควนว Quinoa คออะไร ทำไมถงเปน Super Food

ควินัว (Quinoa) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ทำไมถึงเป็น Super Food

ควินัว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Chenopodium quinoa Willd เพาะปลูกกันมากในกลุ่มประเทศประชาคมแอนดีส ทางทวีปอเมริการตอนใต้ เช่น โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู ในบางประเทศก็เรียกว่า คี้หนั่ว ควินัวเป็นพืชโบราณของชาวอินคาที่ปลูกกันมานานมากกว่า 3-4 พันปีแล้ว โดยชาวอินคานั้นถือว่า ควินัวเป็นซุปเปอร์อาหาร เนื่องจากอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นพืชที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีนสูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ 

เมล็ดของควินัว มีทั้งแบบสีดำ ขาว และแดง หน้าตาจะคล้ายๆกับเมล็ดธัญพืช แต่ความจริงแล้วควินัวเป็นพืชตระกูลที่ใกล้เคียงกับผักขมหรือผักปวยเล้ง และเป็นอีกหนึ่งในธัญพืชที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมากในในต่างประเทศ ซึ่งบางประเทศนั้นนิยมนำควินัวมารับประทานแทนอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท อย่างเช่น พาสต้า ข้าว หรือขนมปัง นั่นก็เป็นเพราะว่า เมล็ดควินัวนั้นค่อนข้างที่จะมีประโยชน์อย่างมาก เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเหล่าธัญพืชชนิดอื่นๆ

มีงานค้นคว้าวิจัยที่พบว่าในเมล็ดควินัวนั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวณมาก อีกทั้งยังมีสารสำคัญที่ช่วยต้านการอักเสบและการบาดเจ็บของเซลล์ สารต้านการอักเสบนี่เองที่จะช่วยรักษาและซ่อมแซม ทำให้เซลล์มีการฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่ต้องต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ 

สารอาหารสำคัญในเมล็ดควินัว

– โปรตีน ในเมล็ดควินัวนั้น มีโปรตีนในปริมาณที่สูงถึง 16-18 % เป็นพืชที่ให้สารอาหารโปรตีนมากที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยมีกรดอะมิโนที่เด่นๆ และมีความสำคัญได้แก่

• กรดอะมิโนลิวซีน (Leucine) พบว่ามีมากถึง 4.9% ซึ่งกรดอะมิโนลิวซีนเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเองไม่ได้ ทำหน้าที่สำคัญที่ช่วยกระตุ้นการสร้างโปรตีนของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อกระชับแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการหลั่งของ Growth Hormone ที่ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนเพื่อเอาไปสร้างเซลล์กล้ามเนื้อ จึงทำให้เซลล์ในส่วนต่างๆ ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว กรดอะมิโนลิวซีนยังช่วยในการทำงานของสมอง มีส่วนช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยในการเผาผลาญไขมันของร่างกาย ซึ่งเป็นไขมันที่อยู่ในชั้นที่ลึกและยากต่อการทำให้มีการสลายตัวไปด้วยการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้แล้วยังมีการทดลองที่พบว่ากรดอะมิโนลิวซีนยังช่วยทำให้อิ่มและมีความรู้สึกอยากอาหารน้อยลง โดยมีการฉีดกรดอะมิโนลิวซีนในหนูทดลอง แล้วพบว่าพวกมันมีการกินอาหารที่น้อยลง

• กรดอะมิโนไอโซลิวซีน (Isoleucine) พบว่ามีปริมาณมากถึง 6.6% ซึ่งกรดอะมิโนไอโซลิวซีนจะทำงานคู่กับกรดอะมิโนลิวซีนที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมกระดูก ผิวหนัง และกล้ามเนื้อ และยังช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดอีกด้วย 

นอกจากนี้ยังพบว่าในเมล็ดควินัวนั้นยังมีกรดอะมิโนอื่นๆ ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดเดียวกันกับที่พบในน้ำนม เมื่อได้รับกรดอะมิโนเหล่านี้เข้าไป ร่างกายของเราก็จะนำไปใช้ในการสร้างโปรตีน เพื่อซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

– แร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญ 

• แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่ช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันภาวะการเกิดโรคกระดูกพรุน ในเมล็ดควินัวแห้งเพียง 100 กรัม พบมีแคลเซียมอยู่ในปริมาณที่สูงถึง 148.7 มิลลิกรัมเลยทีเดียว ในขณะที่ข้าวสาลีมีธาตุแคลเซียมอยู่ในปริมาณเพียงแค่ประมาณ 50.3 มิลลิกรัม ส่วนข้าวและขาวโพดมีอยู่ในปริมาณ 6.9 และ 17.1 มิลลิกรัมเท่านั้น

• โพแทสเซี่ยม เป็นแร่ธาตุสำคัญทีช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้าวเนื้อ ลดความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิต โรคหัวใจและหลอดเลือด ในเมล็ดควินัว 100 กรัมมีโพแทสเซี่ยมมากถึง 926.7 มิลลิกรัม

• แม็กนีเซียม ในเมล็ดควินัว 100 กรัม จะมีธาตุแม็กนีเซียมมากถึง 249.6 มิลลิกรัม

• ฟอสฟอรัส มีมากถึง 457 มิลลิกรัม ในเมล็ดควินัว 100 กรัม

• ธาตุเหล็ก ควินัวมีธาตุเหล็กอยู่ในปริมาณที่สูงเมื่อเทียบกับธัญพืชอื่นๆ ในเมล็ดควินัว 100 กรัม มีธาตุเหล็กมากถึง 13.2 มิลลิกรัม (ที่มา : fao.org)

– เส้นใยอาหาร (Fiber) 

แม้ว่าเมล็ดควินัวมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ แต่ก็เล็กแบบซุปเปอร์คอมแพคเพราะว่าอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารหรือใยอาหารมากกว่าธัญพืชอื่นๆ ถึงเท่าตัวเลยทีเดียว โดยประกอบไปด้วยเส้นใยที่ละลายน้ำได้ ที่ทำหน้าที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้พุ่งขึ้นสูง ควินัวจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะเป็นอาหารที่มีเส้นใยสูง แต่มีค่าดัชนีน้ำตาลที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้แล้ว เส้นใยอาหารทั้งแบบละลายน้ำได้และแบบละลายน้ำไม่ได้ ทีมีในปริมาณมากมากถึง 7 เปอร์เซนต์นั้น ยังมีส่วนช่วยในการควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหารและช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้อีกด้วย

– เป็นธัญพืชที่ปราศจากกลูเตน

ในธัญญพืชส่วนมาก ยกอย่างเช่น ข้าวสาลี ข้าวไรซ์ และข้าวบาร์เลย์ จะมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า (Gluten) ซึ่งพบว่ามีหลายคนที่มีอาการแพ้โปรตีนชนิดนี้โดยเฉพาะชาวตะวันตก เวลาไปซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตจะสังเกตุเห็นว่าบนฉลากอาหารในต่างประเทศหรือในเมนูอาหารส่วนมากจะระบุไว้เลยว่า ปราศจากกลูเตน หรือ Gluten Free เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า ควินัวจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกและเป็นแหล่งพลังงานอย่างดีสำหรับคนที่แพ้กลูเตน

คุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นสุดยอดอาหาร หรือเป็น super food จริงๆเลยนะคะ นอกจากนี้แล้ว ควินัวยังมีรสชาติที่นุ่มนวล อร่อย และย่อยง่ายอีกด้วย ในปี ค.ศ. 2013 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นปีแห่งควินัว

วิธิการปรุง 

วิธีปรุงหรือทำเมล็ดควินัวให้สุก ก่อนนำไปทำอาหารต่างนั้นก็ค่อนข้างง่าย มีวิธีการคล้ายๆกับการหุงข้าวในบ้านเรา 

โดยขั้นตอนแรก ล้างควินัวให้สะอาดก่อน จากนั้นก็นำไปหุงโดยเติมน้ำในสัดส่วน 2:1 ใสน้ำ 2 ถ้วยต่อ ควินัว 1 ถ้วย และใช้เวลาในการหุงนานประมาณ 20 นาที สังเกตุเมื่อเมล็ดควินัวสุกแล้ว จะมีลักษณะใสๆ คล้ายกับเม็ดสาคู เพียงเท่านี้เราก็สามารถนำเมล็ดควินัวไปทำอาหารได้สารพัดเมนู ยกตัวอย่างเช่น สลัดทูน่าควินัว ทอดมันผักคีนัว เบอร์เกอร์ควินัว มัฟฟินควินัว หรือข้าวต้มหรือผัดควินัวเป็นต้น 

ตัวอย่างเมนูสุขภาพควินัว : สลัดควินัว ทูน่า และขิง

สลดควนว ทนา และขง

เครื่องปรุง 

ควินัว 1 ถ้วยตวง

สาหร่ายทะเล 2 แผ่น

ทูน่ากระป๋อง ขนาด 80 กรัม

มะเขือเทศ 2 ลูก

หอมใหญ่ 1 หัว

ขิง 1 แง่ง (หรือตามใจชอบ)

น้ำส้มสายชู ชนิด wine vinigar

น้ำมะนาว 

เกลือ

วิธีทำ

ล้างควินัวให้สะอาด เติมน้ำ 2 ถ้วยแล้วนำไปหุง 20 นาที จนควินัวสุกกลายเป็นเม็ดใสๆ 

หั่นสาหร่ายทะเล หอมใหญ่ มะเขือเทศ และซอยขิง พักไว้

ใส่ควินัวและทูน่าลงในชาม ใส่ขิง น้ำมะนาว เกลือ ปรุงรสตามใจชอบ

ใส่สาหร่ายทะเล หอมใหญ่ มะเขือเทศ ที่เตรียมไว้ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่จาน และตกแต่งให้สวยงาม

ขอบคุณสูตรอาหารจาก fao.org